อาการของโรคไต, การป้องกัน

โรคไตคือ ภาวะที่ไตทำงานได้น้อยลงหรือผิดปกติ หน้าที่ของไตคือการกำจัดของเสียและสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมน การควบคุมน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ฯลฯ เมื่อไตทำงานได้น้อยลงจึงไม่สามารถกำจัดของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกายได้ ระดับฮอร์โมนผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย

อาการของโรคไต วิธีสังเกต โรคไต

อาการของโรคไตเกิดจากที่ร่างกายสะสมของเสียมากเกินไปจนส่งผลต่อระบบต่างๆ และฮอร์โมนที่ผิดปกติเพราะไตทำงานน้อยลงจึงทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายสะอึก ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป
  • ผิวแห้ง ระคายเคืองผิว คัน
  • มีอาการบวมน้ำ ตัวบวม มักเริ่มที่ เท้า และรอบดวงตาก่อน
  • ปัสสาวะผิดปกติ อาจมากหรือน้อยต่างกัน มักจะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • เป็นตะคริวบ่อยๆ

ภาวะแทรกซ้อน

ไตอักเสบ

การอักเสบของไตอาจสร้างความเสียหายและส่งผลให้เกิดของเหลวส่วนเกินสะสมอยู่ตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ กลายเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น

ไตวายเฉียบพลัน

คือ การที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือ 1-2 วัน หากได้รับการล้างไตและรักษาอย่างทันท่วงที ไตจะสามารถกลับมาฟื้นเป็นปกติได้ แต่ต้องระวังปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไตวายซ้ำได้ และไตจะค่อยๆ เสื่อมลงจนกลายเป็นไตวายเรื้อรัง

ไตวายเรื้อรัง

เป็นภาวะที่ไตถูกทำลายต่อเนื่องมาแล้วหลายเดือนหรือหลายปี ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของการเกิดไตวายเรื้อรังที่พบได้บ่อย คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ โดยมักพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

กรวยไตอักเสบ

กรวยไตอักเสบหากไม้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เกิดแผลเป็นหรือฝีในไต และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ โดยกรวยไตอักเสบชนิดเฉียบพลันอาจนำไปสู่การเกิดกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรังได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที

การป้องกันโรคไต

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Lifestyles) บางประการสามารถทำให้ไตมีสุขภาพดีได้

  • การเลือกรับประทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานผักหรือผลไม้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วหรือผัก เต้าหู้ เป็นต้น อาหารกลุ่มนี้จะเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ดี
  • จำกัดการรับประทานเกลือหรืออาหารที่มีรสเค็ม เนื่องจากไตต้องรับภาระขับเกลือส่วนเกินออกทางปัสสาวะและเกลือยังมีผลต่อความดันโลหิต ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงควบคุมยากขึ้น
  • จำกัดอาหารมันโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ ไข่แดง กะทิ และน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันบัว เนย มาการีน หันไปใช้กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงแทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย และน้ำมันมะกอก เป็นต้น
  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน

  • ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน หรือไม่ให้เกิดภาวะอ้วน
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอโรบิค เป็นต้น

  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดหรือหยุดดื่มแอลกอฮอล์
  • ตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียดและผ่อนคลายอารมณ์
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
  • รับประทานพืชจำพวกแป้งและข้าวให้มากกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์ และหากเลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ให้เลือก ปลา เป็ด ไก่ กุ้ง ไข่ขาวมากกว่าจำพวกเนื้อแดง เช่น หมู วัว ทั้งนี้เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการกำจัดของเสีย ซึ่งได้มาจากการเผาผลาญจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หากรับประทานอาหารกลุ่มนี้มากไตก็จะรับภาระทำงานมากขึ้น

  • ไข่ขาว ถือเป็นแหล่ง โปรตีนแอลบูมิน ที่สมบูรณ์ที่สุด เมื่อเทียบกับโปรตีนได้ที่จากเนื้อสัตว์ นม หรือ ถั่วเหลือง ทั้งนี้ไข่ขาวเป็นกรดอะมิโนโปรตีนจำเป็น ที่ร่างกายต้องการ จำพวกซัลเฟอร์ ในปริมาณสูง เสริมสร้างในส่วนของเซลล์ผิวหนัง เล็บ และผม เสริมธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก (Folic Acid) ป้องกันภาวะโลหิตจาง เสริมสร้างความจำอย่างแคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี วิตามินบี วิตามินซี วิตามินบี12 ต่างๆ  จึงถือว่าให้โปรตีนค่อนข้างสูง และมี แอลบูมิน ในไข่ขาว ค่อนข้างเยอะเช่นกัน

Egg albumin โปรตีนไข่ขาว ชนิดเม็ด จึงเป็นหนึ่งทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค ผู้แพ้นม ผู้ที่แพ้ถั่วเหลือง และมีความจำเป็นที่จะต้องบริโภคไข่ แต่เบื่อการทำอาหาร เบื่อการแยกไข่แดงทิ้ง เบื่อกลิ่นคาวของไข่ ในการรับประทาน เป็นต้น

ข้อมูล

ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลบางปะกอก 8

โรงพยาบาลเปาโล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *